รองโฆษก ตำรวจ อธิบาย ยิง แก๊สน้ำตา เพื่อควบคุมพื้นที่ ไม่ใช่สลายการ ชุมนุม

รองโฆษก ตำรวจ อธิบาย ยิง แก๊สน้ำตา เพื่อควบคุมพื้นที่ ไม่ใช่สลายการ ชุมนุม

รองโฆษกตำรวจ ได้แถลงถึงกรณีที่ ตำรวจ ยิง แก๊สน้ำตา ใส่ผู้ชุมนุม โดยตำรวจกล่าวว่า ผู้ชุมนุมพยายามทำลายสิ่งกีดขวาง แม้ตำรวจจะเตือนแล้วก็ตาม ย้ำไม่ใช่การสลายการ ชุมนุม แต่เป็นการควบคุมพื้นที่ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกตร. เปิดเผยหน้ารัฐสภาถึงกรณีการยิง แก๊สน้ำตา ใส่ ผู้ชุมนุม ว่า กลุ่มคณะราษฎรเดินขบวนเข้ามาและเริ่มทำลายสิ่งกีดขวาง ทางเจ้าหน้าที่จึงมีการเตือนแล้ว แต่กลุ่ม ผู้ชุมนุม ยังไม่หยุด จึงมีการฉีดน้ำจำนวน 4 ครั้ง โดย 3 ครั้งเป็นน้ำเปล่า ครั้งที่ 4 เป็นน้ำผสมแก๊สน้ำตา

รองโฆษกตำรวจ ยืนยันว่า ทางเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตามกฎหมาย 

ซึ่งไม่อนุญาตให้กลุ่ม ผู้ชุมนุม เข้ามาในระยะ 50 เมตรจากรัฐสภา แต่กลุ่มผู้ชุมนุมฝ่าฝืนและได้พยายามทำลายสิ่งกีดขวาง ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เตือน ผู้ชุมนุม แล้วหลายครั้ง ทั้งนี้การฉีดน้ำครั้งนี้ ไม่ใช่การสลายการชุมนุม แต่เป็นการเข้าพื้นที่ควบคุม เพื่อเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุม ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ยังไม่มีแผนดำเนินงาน และจะตัดสินใจตามสถานการณ์ในการชุมนุม

มาทำความรู้จักและดูอานุภาพความรุนแรงของ กระสุนยาง อาวุธปราบจราจล ควบคุมฝูงชน ที่ตำรวจและทหารทั่วโลกเลือกใช้กัน วันนี้ (17 พ.ย.) เกิดเหตุปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ และกลุ่มผู้ชุมนุมเยาวชนปลดแอก ที่หน้ารัฐสภาเกียกกาย โดยนอกจากจะมีการฉีดน้ำผสมแก๊สน้ำตาแล้ว อาวุธอีกชนิดหนึ่งที่ตร. เตรียมใช้ควบคุมก็คือ ‘กระสุนยาง’

กระสุนยางถูกคิดค้นโดยกระทรวงกลาโหมของสหราชอาณาจักร และถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี 1970 กับการปราบจราจลในไอร์แลนด์เหนือ หรือที่รู้จักกันในชื่อเหตุการณ์ “The Troubles”

หลังจากนั้นมันก็กลายเป็นกระสุนซ้อมรบของทหารทั่วโลก เพราะด้วยการที่มันทำมาจากยางพารา ทำให้มีราคาถูกกว่ากระสุนจริงที่ทำจากตะกั่วหรือทองแดง ซึ่งนอกจากจะใช้ซ้อมรบแล้ว มันก็กลายเป็นหนึ่งในอาวุธสามัญ ที่เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนต่างก็ใช้กันทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมพื้นที่ก็ดี หรือสลายการชุมนุมก็ดี

ครม. ไฟเขียว แก้ร่างทำแท้ง อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์

ทำแท้งถูกกฎหมาย? – นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผ่าน Facebook ส่วนตัว หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ว่า ครม. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานทำให้แท้งลูก

โดยมีที่มาคือ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย ว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 กำหนดให้หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกมีความผิดอาญานั้น เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของหญิงเกินจำเป็น ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และเพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ครม.ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 และ มาตรา 305 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ ครม. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 และ มาตรา 305 ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ โดยมีเหตุผลในการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 และ มาตรา 305 คือ

1) กำหนดอายุครรภ์สำหรับความผิดฐานหญิงทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ มีความผิดและต้องรับโทษ เพื่อคุ้มครองสิทธิของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้เกิดความสมดุลกัน

2) เพิ่มเหตุยกเว้นความผิดฐานทำให้แท้งลูก ให้ครอบคลุมกรณีต่างๆ ที่จำเป็นและสมควรต้องทำแท้งหรือยุติการตั้งครรภ์ให้กับหญิง และกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องทำตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาเพื่อความปลอดภัยของหญิงตั้งครรภ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 301 ให้หญิงที่มีอายุครรภ์ “ไม่เกิน 12 สัปดาห์” สามารถทำแท้งได้ จากเดิมที่ห้ามหญิงตั้งครรภ์ทำแท้งโดยเด็ดขาด ซึ่งการกำหนดอายุครรภ์ดังกล่าวเป็นไปตามความเห็นของแพทยสภาและราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ปลอดภัยที่สุดในการทำแท้ง ไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ทำแท้งเกิดอาการแทรกซ้อนและเป็นอันตรายแก่ชีวิต นอกจากนี้ ได้มีการแก้ไขลดอัตราโทษ เพื่อให้เหมาะสมกับการที่ผู้ทำแท้งต้องได้รับความเจ็บปวดทางร่างกายอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดโทษสูงอีก โดยมีรายละเอียดดังนี้

“มาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” จากเดิมที่กำหนดให้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับมาตรา 305 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเหตุยกเว้นความผิดฐานทำให้แท้งลูก ให้ครอบคลุมกรณีที่จำเป็นและสมควรต้องทำแท้งหรือยุติการตั้งครรภ์ให้กับหญิง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

แนะนำ : รีวิวเครื่องใช้ไฟฟ้า | รีวิวอาหารญี่ปุ่น| รีวิวที่เที่ยว | ดาราเอวี